เมื่อไม่นานมานี้ ข่าวของนักแสดงสาวชื่อดังชาวจีน Zhao Lusi ได้กลายเป็นที่พูดถึงในวงกว้างทั้งในจีนและในไทยเอง หลังจากที่น้องเกิดอาการป่วยช่วงระหว่างการถ่ายทำละคร ซึ่งเธอไม่สามารถพูดหรือเดินได้ อาการดังกล่าวสร้างความตกใจทั้งในหมู่ทีมงานและแฟนคลับทั่วโลกรวมถึงหมอด้วยค่ะ ในตอนแรกหลายคนกังวลว่าน้องอาจเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) แต่ผลการตรวจ MRI กลับไม่พบความผิดปกติใด ๆ ล่าสุดมีการเปิดเผยจากเจ้าตัวว่าเริ่มมีอาการเรื้อรังมาหลายปีจากความเครียดที่สะสมมีการปรึกษาจิตแพทย์เป็นระยะโดย มีการถ่ายภาพใบรับรองแพทย์ ระบุว่าน้องป่วยด้วย Conversion Disorder ค่ะ ส่วนตัวแล้วหมอชอบน้องในฐานะนักแสดงมากๆค่ะ เป็นคนสวยน่ารักที่ดูสดใสร่าเริงตลอด ฝีมือการแสดงก็เป็นรองใคร ติดตามแทบทุกเรื่องเลยค่ะ แต่ใครจะ คาดคิดว่าคนที่ดูเพียบพร้อมแบบนี้จะต้องเผชิญกับความเครียดกดดันที่สูงขนาดนั้น
โรคนี้ฟังชื่อแล้วไม่คุ้นเลยใช่ไหมคะ ต้องยอมรับว่าโรคนี้ไม่เป็นที่รู้จักมากนักในสังคมไทย เนื่องจากพบได้ไม่มากนัก และยังเป็นหนึ่งในโรคจิตเวชที่จิตแพทย์อย่างหมอพยายามหลีกเลี่ยงการวินิจฉัยตรงๆ หากยังไม่มั่นใจ หรือยังดูแลไม่นานพอ เพื่อไม่ให้ผู้รักษาท่านอื่นเกิดอคติในการรักษาการค่ะการทำความเข้าใจโรคนี้สำคัญมาก เพราะมันช่วยให้เรารับมือและช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง
Conversion Disorder คืออะไร?
Conversion Disorder ซึ่งคำว่า conversion แปลว่าเปลี่ยน นั่นหมายความถึงการเปลี่ยนแปลงความเครียดกดดันในใจมาแสดงออกเป็นอาการทางร่างกายระบบประสาทค่ะ เป็นความผิดปกติทางจิตเวชที่ผู้ป่วยมีอาการทางกาย เช่น ชัก อัมพาต ชา หรือสูญเสียการรับรู้บางอย่าง โดยไม่มีสาเหตุทางกายภาพที่ชัดเจน เช่นเดียวกับกรณีของน้อง Zhao Lusi
อาการเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการแกล้งทำหรือจงใจ ผู้ป่วยเองมักไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าอาการที่เกิดขึ้นมีสาเหตุจากจิตใจ เช่น ความเครียด ความกดดัน หรือความบอบช้ำทางอารมณ์ที่สะสมอยู่ในระดับลึก
อาการที่พบได้
สิ่งที่ทำให้ Conversion Disorder แตกต่าง คือ อาการเหล่านี้ไม่สัมพันธ์กับระบบกายวิภาค หรือโรคทางการแพทย์ใด ๆ ที่สามารถตรวจพบได้
อะไรคือสาเหตุของโรคนี้?
การวินิจฉัยที่ต้องระมัดระวัง
การวินิจฉัย Conversion Disorder ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเบสิกขนาดนั้นค่ะ เพราะแพทย์ต้องตรวจวินิจฉัยแยกโรคทางกาย เช่น โรคทางระบบประสาทหรือโรคหลอดเลือดสมองออกไปก่อน โดยการตรวจใช้เครื่องมือทางการแพทย์อย่างละเอียด เช่น การสแกน MRI หรือการตรวจทางระบบประสาทให้ครบถ้วน ดูเรื่องการชัก การเคลื่อนไหวต่างๆให้รอบด้าน รวมถึงการประเมินปัจจัยด้านจิตใจอย่างลึกซึ้งเพื่อเสาะหาว่าอาการที่เกิดขึ้นมีโรคร่วมอื่นๆทางจิตเวชและ Conversion Disorder ด้วยหรือไม่ค่ะ
การรักษา: ฟื้นฟูจากจิตใจสู่ร่างกาย
ข้อควรระวังสำหรับคนใกล้ชิด
อย่าด่วนตัดสินว่าอาการเหล่านี้เป็น “การแกล้งทำ” เพราะผู้ป่วยเองไม่สามารถควบคุมอาการได้ และไม่ได้ตั้งใจให้อาการเกิดขึ้น การแสดงความเข้าใจและสนับสนุนให้เขารับการรักษาจะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น
กรณีของน้อง Zhao Lusi ก็เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า แม้แต่คนที่ดูเหมือนแข็งแรงและประสบความสำเร็จก็สามารถประสบปัญหานี้ได้ ทำให้เราได้เห็นถึงความสำคัญของการดูแลจิตใจพอ ๆ กับร่างกายทีเดียวค่ะ หมอเองก็ขอเป็นหนึ่งในกำลังใจให้น้องกลับมาแข็งแรงทานข้าวได้และกลับมาทำในสิ่งที่น้องรักเหมือนเดิมในเร็ววันค่ะ
หากว่าอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว พบว่าตัวเราเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการที่คล้ายกับ Conversion Disorder อย่าลังเลที่จะปรึกษาจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญนะคะ การตรวจและรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่เนิ่น ๆ เป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ค่ะ
Credit : พญ.วิลาวัลย์ กำจรปรีชา
ปรึกษาแนวทางการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางและนัดหมายแพทย์
ช่องทางการติดต่อ · โทรศัพท์: 090-959-9304 · LINE: @JOYOFMINDS