ตลอดเดือนที่ผ่านมานี้กับบรรยากาศ Pride month ทางคลินิกได้นำเสนอสาระน่ารู้ที่น่าจะทำให้หลายๆคนมีความเข้าใจความหลากหลายทางเพศกันมากขึ้น ซึ่งทุกคนคงจะพอมองเห็นภาพได้ว่าความหลากหลายทางเพศเป็นเรื่องปกติ เป็นความสวยงามของโลก แต่สำหรับบางคนที่เกิดมาโชคร้าย มีเพศสภาพทางจิตใจที่ไม่สอดคล้องกับสภาพร่างกายที่เป็นมาแต่กำเนิด คนเหล่านี้คงมีความน่าสงสารมากที่ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ในร่างกายที่ไม่ใช่ตัวตนของตนเอง ทุกวันต้องทนเห็นอวัยวะบางอวัยวะที่ตัวเองรู้สึกรังเกียจ ไม่อยากให้มีมันอยู่ในตัวเลย ยังไม่รวมถึงการที่ถูกกดดันคาดหวังจากสังคมให้ปฏิบัติตัวไปตามเพศสภาพที่ลักษณะภายนอกของร่างกายเป็นเช่นนั้น
ในอดีตเรามีมุมมองต่อคนกลุ่มนี้แตกต่างไปจากในยุคปัจจุบันค่อนข้างมาก แพทย์ในบางยุคบางสมัย มีมุมมองว่าควรจะแก้ไข “จิตใจ” ให้สอดคล้องกับ “ร่างกาย” ที่เป็นอยู่ จึงมีวิธีการรักษาคนกลุ่มนี้ในรูปแบบที่ดูน่ากลัวในมุมมองของคนยุคเรา เช่น การรักษาด้วยการใช้กระแสไฟฟ้าช็อต หรือ การฉีดฮอร์โมนบางอย่างเข้าไปเพื่อหวังให้มีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้ป่วย ซึ่งส่วนใหญ่มักนำมาสู่ความทรมานทางจิตใจ และร่างกายของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ถึงขึ้นที่เรียกได้ว่าเป็นโศกนาฏกรรมเลยทีเดียว ใครที่สนใจเรื่องนี้สามารถติดตามชมได้ในภาพยนต์เรื่อง Imitation Game ซึ่งสร้างจากเรื่องราวในชีวิตจริงของยอดนักคณิตศาสตร์ ชื่อ Alan Turing
ภาวะ Gender Dysphoria นี้ มีเกณฑ์ในการวินิจฉัยดังนี้
1. ผู้ป่วยมีความรู้สึกขัดแย้งกันระหว่างเพศสภาพที่ตนเองรู้สึกหรือแสดงออก กับเพศสภาพซึ่งเป็นมาแต่กำเนิด ซึ่งความรู้สึกขัดแย้งหรืออึดอัดใจนี้อาจแสดงออกมาได้ในลักษณะดังต่อไปนี้ คือ
2. ความรู้สึกทุกข์ทรมานนั้น ส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงาน และการใช้ชีวิตในด้านต่างๆของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญ
หลังจากที่มีการวินิจฉัยโดยผู้เชี่ยวชาญแล้ว สิ่งที่ต้องทำในลำดับต่อไปของการแก้ไขอัตลักษณ์ทางเพศ คือ เรื่องของการเยียวยาทางจิตใจ สิ่งที่คนกลุ่มนี้ต้องเผชิญจากครอบครัวและสังคม ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของคนกลุ่มนี้ค่อนข้างมาก สิ่งที่จิตแพทย์มักจะทำเพื่อช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ ได้แ
สำหรับขั้นตอนการรักษาเพื่อแก้ไขอัตลักษณ์ทางเพศนั้นยังมีรายละเอียดอีกมากมาย ขอยกยอดไปเล่าในโอกาสถัดไปนะครับ อยากจะขอเน้นย้ำอีกทีสำหรับผู้ที่รู้สึกว่าตนเองน่าจะมีปัญหาอันเนื่องมาจากอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง หรือพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานที่น่าจะเข้าข่ายดังกล่าว อย่ารีรอที่จะรีบมาปรึกษากับจิตแพทย์นะครับ การที่เราเริ่มนับหนึ่งกับผู้เชี่ยวชาญตัวจริง จะช่วยให้เราเดินต่อไป ในเส้นทางของการรักษาภาวะ Gender Dysphoria ได้อย่างเหมาะสม และปลอดภัยทั้งต่อร่างกาย และสภาพจิตใจของผู้ป่วย อีกทั้งยังช่วยให้สัมพันธภาพและความเข้าใจซึ่งกันและกันภายในครอบครัวดีขึ้นด้วยนะครับ
Credit : นายแพทย์จตุภัทร คุณสงค์
ปรึกษาแนวทางการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางและนัดหมายแพทย์
ช่องทางการติดต่อ · โทรศัพท์: 090-959-9304 · LINE: @JOYOFMINDS